วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของคณะพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2567-2571
วิสัยทัศน์
“สถาบันการศึกษาพยาบาลหลักในการยกระดับสุขภาวะและสันติสุขของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน”
“Premier Nursing Faculty Enhancing Well-being and Peace of People in the Southern border Provinces”
พันธกิจ
1. ยกระดับการศึกษา (Degree and Non-degree) ด้วยมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาของพื้นที่
2. พัฒนาองค์ความรู้และการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนนโยบายในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้
3. ยกระดับบริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
4. บริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน
Core competency
CC1 OBE on Demand
CC2 Heath establish to PEACE (Trancultural nursing & Disaster nursing)
CC3 Research for Policy Advocacy
CC4 Primary Health Care
Pillar of Excellence ประจำปี 2568 - 2571
1. On-demand Life Long Learning Education
SO1 หลักสูตร Degree ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ACEN 1 หลักสูตร
KPIs ระดับความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อรับรองมาตรฐาน ACEN (หลักสูตรป.ตรี) (1 หลักสูตร ในปี 2570)
SO2 International Post-Graduation Program
KPIs จำนวนนวัตกรรมหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอน (ระดับนานาชาติ) และเปิดรับได้ตามเป้า (1 หลักสูตร ปี 2568)
SO3 Center of On-demand& Work Integrated Learning for Global Citizen
KPIs จำนวนบุคลากรสุขภาพและผู้เรียนที่มีสมรรถนะสูงตามเกณฑ์หลักสูตรกำหนด (2 หลักสูตรในปี 2568 (ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และ Critical care))
2. Public Policy Advocacy Research
SO4 การวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ
KPIs จำนวนนโยบายสาธารณะใหม่ระดับพื้นที่/ระดับชาติ/นานาชาติ (ปี 2568 1 นโยบาย )
SO5 Frontier Research for Global Health
KPIs จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ Q1, Q2 (ปี 2568 5 ผลงาน)
3. Primary Health Care Excellent
SO6 Premium wellness สู่ land mark ชายแดนใต้
KPIs 1. ระดับความสำเร็จในการรับรองมาตรฐานศูนย์ Global wellness (สะสม 4 ด้าน) (ปี 2568 2 ด้าน)
2. รายได้ (ปี 2568 4 ล้านบาท)
SO7 Digital primary healthcare
KPIs 1. จำนวนครั้งการใช้บริการ (Visit) บน digital primary platform (ปี 2568 15,000 ครั้ง)
2. รายได้ digital primary health care (ปี 2568 1.5 ล้านบาท)
4. High Performance & Sustainability
SO8 Faculty Development & Engagement
KPIs 1. ร้อยละอาจารย์ที่ผ่านการประเมิน TPSF ระดับวิชชาจารย์ขึ้นไป (ปี 2568 10 คน)
2. ร้อยละอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น/บุคลากรที่มีตำแหน่งที่สูงขึ้น (ปี 2568 30%)
3. คะแนน Engagement (ปี 2568 50%)
SO9 การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ TQC/EdPEx300
KPIs ระดับคะแนนผลการประเมิน EdPEx300/รับรางวัล TQC (ปี 2568 คะแนน EdPEx 250 คะแนน)
SO10 Financial Sustain
KPIs Total Revenue (ล้านบาท/ปี) (ปี 2568 35ล้านบาท/ปี)
SO11 Digital Transform
KPIs จำนวนระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนพันธกิจและการบริหารจัดการองค์กร (ระบบใหม่) (ปี 2568 2 ระบบ)
ในปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (คำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ 50314/2551ลงวันที่ 28 มีนาคม 2551) เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสังคมและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนโดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากเหตุความไม่สงบฯในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนพัฒนาวิทยาเขตและเพื่อให้การดำเนินงานในการจัดตั้งคณะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาวิทยาเขตปัตตานีตามคำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ 0485/2552 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2552
โดยได้แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรียา ไชยลังกา รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพยาบาลศาสตร์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี อีกตำแหน่งหนึ่ง (คำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ 0737ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2552) และได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ใหม่ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ 5041/2552 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2552 และคำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ 50417/2552 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2552 เพื่อดำเนินการจัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและเปิดรับนักศึกษาในปี พ.ศ.2556 ในปีพ.ศ.2556 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 352(8/2556) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2556 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญ แสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์
คือ ตราเครื่องหมายประจำพระบรมราชวงศ์จักรี
คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญ แสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์
คือ พระอิสริยยศที่พระบรมราชชนก (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5) โปรดเกล้าฯสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองสงขลา เสมือนทรงเป็นเจ้าแห่งนครสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2446 และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2513 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้เฉลิมพระนามสมเด็จพระราชบิดา ว่า "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" ตามราชกิจจานุเบกษา ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมราชชนก และ สมเด็จพระบรมราชชนนี ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 87 ตอนที่ 52 วันที่ 12 มิถุนายน 2513
ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ 5041/2552 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2552 และคำสั่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ 50417/2552 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2552 เพื่อดำเนินการจัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและเปิดรับนักศึกษาในปี พ.ศ.2556 ในปีพ.ศ.2556 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 352(8/2556) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2556 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
โลโก้ PSU เป็นสัญลักษณ์เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นำเสนอภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่มีหัวคิดก้าวหน้าและเป็นมิตรโลโก้ PSU
ประกอบด้วย ตัวอักษร PSU สีน้ำเงิน และ สัญลักษณ์ Navigation Maker สีฟ้า ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวของการเดินทาง โดยมี “จุดหมาย” และ “จุดเริ่ม” เป็นสิ่งยึดมั่น ให้ทิศทางผลักดันให้ลงมือ และไม่ย่อท้อกับทุกอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นสังคมแห่งการทำงาน วิจัย การคิดค้นนวัตกรรม และการเป็นที่พึ่งสังคมของมหาวิทยาลัยในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น หรือโลกแห่งการค้นหาความฝัน การค้นพบศักยภาพตัวเอง การเรียนรู้ และการได้รับประสบการณ์จริงของนักศึกษาเพื่อพร้อมเผชิญกับชีวิตจริงของการทำงาน
เป็นดอกไม้ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
สีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์
รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี รักษาการแทน
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
อีเมล์: attachai.u@psu.ac.th